วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ดี จากรายการทีวีญี่ปุ่น เรื่องเทคนิคการพัฒนาให้อยากจะทำ

เมื่อวานดูรายการทีวี やる気向上テクニック (ยะรุคิ โค-โจ-) ซึ่งแปลไว้ตามข้างต้นแล้ว


ผู้ร่วมรายการ ก็มีหลายท่าน เช่นนักวิชาการสาขาต่างๆ นักวิจารณ์ ออกมาร่วมรายการいろんな分野の 学者や、評論家が、テクを紹介。


พูดถึงวิธีการแล้วก็
     หากอะไรที่มีความสำคัญ ตัวเอง ก็ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อความสำเร็จ อย่างเช่น เขียนเป็นบันทึก เป็นบล๊อก
     หรือไม่ก็ หากมีอะไรที่ได้รับคำชื่นชม โดยเฉพาะหากเป็นเมลล์ ก็ให้แยกเป็นโฟล์ดเดอร์ใหม่เก็บไว้เลย เพื่อเวลาที่หาก เรามีการท้อถอย จะได้กลับเข้าไปอ่าน ไปดู เป็นตัวอักษรนี่ดีกว่า เก็บไว้ในสมอง บางทีก็เอาออกมาอ่าน ก็ช่วยสร้างพลังออกมาได้ [ブログや、メールでほめられたとき、 それらをファイルを作って保存し、ときどき読み返して元気を出す]と言います。

อีกวิธีหนึ่ง ก็คือ ช่วงระหว่างการร้อง คะระโอเกะ ก็อาจจะออกรูปแบบว่า สมมุติว่า ตัวเองเป็นคนโน้น คนนี้ แล้วโพสต์ท่ากันไปเลย

หรือไม่ก็ ศิลปะเกี่ยวกับเรื่องครัว
หรือไม่ก็ การเล่นโคน ก็ช่วยได้


แต่อย่าใช้เงิน ของของรางวัลเป็นตัวล่อ เพราะว่า นั่นเป็นสิ่งที่ผิดๆ หากใช้เงินหรือของแล้ว เราจะต้องเพิ่มมูลค่าของ ของนั้นไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับเด็ก นั้นต้องระวังเรื่องนี้ หากการทำอะไร แล้ว เขาทำด้วยความตั้งใจ เรากลับไปเปลี่ยนจุดหมาย เป้าหมายเขา เป็นของ เป็นเงิน แล้ว เรานั้นเป็นคนที่ไปทำร้ายเขา


รวมถึงนอกเรื่องอีกเรื่องก็คือ


ถึงเรื่องการเลี้ยงลูก คุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองบอกว่า เลี้ยงเด็ก นั้นไม่ต้อง ดูแล ให้สะอาด สะอ้าน อย่างเขาเองนั้น ไม่มีโรคภูมิแพ้ หรือแพ้อะไรง่ายๆ เพราะว่า แม่เขาบอกว่า เขานั้น เวลาอาหารตก แล้ว ชอบหยิบกิน เด็กนั้น ปล่อยให้สกปรก ยิ่งดี เพราะว่า เขาจะมีภูมิต้านเพิ่มขึ้น

ดีน่ะรายการนี้ เป็นรายการของ คนชื่อ สัมมะ ดูภาพเองน่ะ คนนี้แหล่ะ สนุกดี มีความรู้ ให้มาเล่าต่อกันฟัง




วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

นวดแล้วดีอย่างไร นวดอย่างไร

สวัสดีค่ะ
เมื่อ ๒ วันก่อน ดูทีวี แล้ว อดไม่ได้ รีบโทรศัพท์กลับเมืองไทย ไปบอกคนที่บ้าน คุณหมอจากมหาวิทยาลัย ชินชู (ที่นี่ ท่านออกทีวี) ค้นพบ วิธีสร้างภูมิคุ้มกัน (อดไม่ได้ต้องขยายต่อ ให้พวกเราได้มีสุขภาพที่ดี เพราะว่า หากเราสุขภาพไม่ดี แล้ว ละก็ ไม่ต้องบอกเลยว่า หากคุณจะเสียเงินไปรักษา สถานพยาบาลเอกชน ก็ต้องถามว่า เงินพอไหม ที่ทำงานมา หามา มันพอไหม และหากจะไปหาภาครัฐ ภาคประกันตน นั้นก็สุขภาพจิต เสียไปอีก ทรุดกันหนัก)
รักกัน รักกัน ไม่ชอบกัน ก็อยากบอกต่อค่ะ

ก่อนอื่นมาพูดกันถึงเรื่อง ภูมิคุ้มกันก่อน ไปหาอ่านมาค่ะ เขาบอกว่าอย่างนี้
"เมื่อได้รับเชื้อโรค ร่างกายจะต้องสร้างสารภูมิคุ้มกันได้เร็วและมากพอจึงจะกำจัดเชื้อโรคได้ ถ้าร่างกายอ่อนแอก็ทำให้ระบบอ่อนแอไปด้วย การสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายก็ไม่ค่อยดี จึงเกิดการเจ็บป่วยขึ้น เป็นหวัด เป็นมะเร็ง เป็นอะไรต่ออะไร"

จาก การที่คุณหมอ ท่านได้ทำการเจาะเลือด เพื่อหาภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย แม่บ้าน มนุษย์เงินเดือน แล้วพบว่าภูมิคุ้มกันนั้นมีน้อย เจ็บป่วยง่าย ทำอย่างไร ไม่ต้องกินยา ทดสอบ กันหลายอย่าง แล้วพบว่า การนวด ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้มากๆ แล้วแต่จะกี่เปอร์เซ็นต์ ก็แล้วแต่คน แต่เพิ่มมากๆ หลังจาก นวดแล้ว ๓๐ นาที เจาะเลือด ค้นหาภูมิคุ้มกันอีกที "เห็นแล้วก็ต้องรีบกดโทรศัพท์ บอกต่อกันเลย"

คุณหมอ ก็ทดลอง นวด แต่ละจุด แต่ละคน คนละจุด คนละส่วน แต่ที่ได้ผลมากๆ ก็คือ
การนวด แต่นวดเบาๆ เหมือนเอามือกดฟองน้ำล้างจาน แบบที่มีรอยหยักๆ ให้รอยหยักๆ ปุ๋มไป ก็เท่านั้น ไม่ต้องออกแรงมาก
นวดเบาๆ ตั้งแต่เท้า ไปจนถึง โคนขา ด้านใน ด้านนอก นวดด้วยตัวเองก็ได้ แค่เพียง ข้างละ ๓-๔ นาที แล้วหลังจากนั้น นอนพักเขาหมอนหนุนเข่า แล้วเจาะเลือด ก็ได้ผล แบบที่บอก
คุณหมอบอกว่า(จากผลข้อมูลต่างๆ ที่ท่านเอามาแสดง คนญี่ปุ่นนี่เรื่องข้อมูล ละก็ เยี่ยมยอดค่ะ) มันช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้นยังต้านโรคมันต้านมะเร็งได้ดี ด้วย
ทำให้นึกถึง ย่าซึ่งตอนนี้ อายุ ๙๒ แล้ว แต่ว่าไม่เคย เป็นหวัด เจ็บคอ ไอ เจ็บป่วย แบบว่าต้องไปหาหมอ
ย่า ชอบที่จะนวดให้คนมานวด นั่งๆไปก็นวดตัวเองไป ภาพที่น่านั่งจับขาตัวเองคุยไปนวดตัวเองไป ยังติดตาอยู่เลย
กลับเมืองไทย คราวนี้ ย่า ยังนวดให้หลาน คนนี้เลย นวดแบบตั้งใจ มีแรงซะด้วย
อยากให้ทุกคนแข็งแรง ค่ะ ไม่มีโรค หรือมีโรคให้น้อย ว่างๆ ไม่มีอะไร นึกอะไรไม่ออก ก็เอามือนวดๆ คลำๆ กันไป คลำไปเผื่อคนข้างๆ ก็ได้นะคะ หากเขาชอบ

ผักดองญี่ปุ่น กับ น้ำพริกตาแดงของแม่


ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นโดยทั่วไปอยู่ในช่วงหน้าหนาว มีหิมะตก โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่แถบทะเลญี่ปุ่น
อย่างที่จังหวัดนะงะโนะ นี้ตอนนี้ก็อยู่ในช่วงอุณหภูมิ ที่ติดลบ ประมาณ -2℃ - -4 ℃ พืชผัก ทั่วไป ก็จะอาศัย การนำเข้า หรือ ผักที่ปลูกใน เฮ้าท์ แต่สำหรับ คนที่นี่แล้ว ผักที่กินกันในหน้าหนาว ก็คือ ผักดอง (漬物つけもの)อย่างเช่น โนะสะวะ นะ(野沢菜) หรือ ทะกุอัง ( たくあん) ก็คือ หัวไชเท้าดอง แต่ไม่ใช่เค็ม แบบ หัวไชโป๊ะ บ้านเราน่ะ ยังคงสภาพ หัวไชเท้า แต่รสชาด นั้น จะเค็ม หวาน เปรี้ยว ก็แล้วแต่บ้าน แล้วแต่ท้องถิ่น
บ้านเรายังกินรสไม่เหมือนกันเลย อย่างแถวแถบจันทบุรี ระยอง นี่ก็ออกหวาน
แต่โดยทั่วไปแล้ว ผักดองนี่ ก็จะมีรสเปรี้ยว ไม่ใช่ว่าใส่น้ำส้มหรอกน่ะ เพราะว่า มันเหมือนการบูด มันจึงมีเปรี้ยว แต่ผักดองที่คุณเห็นนี่ คุณแม่ญี่ปุ่น จะใส่น้ำส้มลงไปนิดหน่อย เพื่อให้ผักกรอบ
แต่ที่แน่ๆ เลย น้ำพริกตาแดง นี่เหมาะมาก สำหรับกินคู่กัน ไม่เชื่อ ใครที่อยู่ญี่ปุ่น หรือ อยู่เมืองไทย ลองหามากินกันดู แล้วจะบอกว่า มันเข้ากั๊น เข้ากัน
ใครไม่เคยดองผัก ก็ลองดองกันดูนะคะ
อย่างบ้านเรานี่ทำง่ายมากๆ เลย จำได้เรียน สมัยประถม คุณครูสอนดองผัก ดองไข่เค็ม
โรงเรียน ประถมที่เคยได้รับการศึกษา นี้ดีมากๆ ได้ ได้เป็นความรู้ ติดตัวมา (ขอบคุณ คุณครู โรงเรียนวัดตองปุ ลพบุรี)
จำได้ค่ะ ว่าที่เมืองไทย คุณครูสอนดอง ผักกาดเขียว
ซึ่งก็มีวิธีการเดียวกับที่ญี่ปุ่น ในขั้นแรก
ก็คือ ล้างผักแล้วผึ่งให้สเด็ดน้ำ แล้ว จึง โรยเกลือ ตากแดด ๑ แดด
แล้ว ตอนนี้ แหล่ะ ที่แตกต่างค่ะ
เมืองไทยเรา จะได้ผักที่ดองแล้วกินได้เร็ว ก็คือ น้ำซาวข้าว หรือ น้ำมะพร้าว
แต่ที่ญี่ปุ่นนี่ จะใช้รำข้าวหรือ ใช้ มิโสะ (สำหรับ ดองหัวไชเท้า, ส่วนผักอื่นเช่นผักที่มีใบ มีก้านแยะนั้นจะไม่ใช้ พวกนี้ รอให้น้ำมันออกมาจากผักเอง) และ อาจจะใส่เครื่องปรุงรส อย่าง โชยุ หรือ ดาชิ ต่างๆ อันได้แต่ ปลาน้อยตากแห้ง หรือ สาหร่ายคอมบุ พริกแห้ง แล้วแต่บ้านอย่างที่บอกค่ะ
ที่ญี่ปุ่นนี้ก็แดดไม่ดี เหมือนบ้านเรา อย่างจังหวัดนะงะโนะ นี้ มีบ่อน้ำร้อน มากทีเดียว
ที่อำเภอ โนะสะวะ นั้น ก็จะใช้วิธีล้างผัก ในบ่อน้ำร้อน ซึ่งก็เป็นที่ขึ้นชื่อ สำหรับผักโนะสะวะ นะ
ขอบคุณน้ำพริก ตาแดง ไร้ผงชูรส ชูรสด้วยปลาป่น ของคุณแม่ประสาน อร่อยมากๆ กินกี่ครั้ง กี่ครั้ง ก็อร่อย อร่อยทุกคำ ขอบคุณแม่สำหรับรสชาด ที่ไม่เผ็ด ทำให้กินได้นาน ร่างกายอบอุ่นในหน้าหนาวนี้