วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เต้าหู้แผ่นแห้งญี่ปุ่น (こうや豆腐)













อาหารจานนี้ ว่าจะทำ จะทำ แต่ไม่ได้ทำสักที ปีนี้ กับงานการเกษตรของอำเภอ ที่ บุโดะ เซนต้า

(เขียนแบบ สำเนียงญี่ปุ่นค่ะ) เวลา ที่พักตอนเหนื่อย เขาจะเอาอาหารมา กันค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะแบบว่า เอามาแล้ว ต้องไม่น้อยหน้ากันค่ะ ต้องอร่อย ปีนี้ เราได้กิน เต้าหูแห้ง นี้ แล้ว ต้องบอกว่า อร่อย ติดใจเลยค่ะ จำสูตรไว้ กว่าจะได้ทำ ก็แทบจะลืมเลยค่ะ

หน้าตามันอาจจะไม่ดูดี แต่ ขอบอกว่า รสชาด นั้น รับประกันความอร่อยเลยค่ะ


ขั้นตอนแบบเขียนง่ายๆ คือ ว่า แช่แผ่นเต้าหู้ ในน้ำร้อน แต่เราว่าจะให้รสชาดที่ดีหน่อย เราก็เลยแช่ในน้ำสักพัก แล้วก็แช่ในน้ำจิ้มโซบะ

เสร็จแล้ว ก็ コロモをつけて (ชุบในแป้งสาลี) แล้วก็ทอดค่ะ

ขณะที่ทอดไป เราก็ทำน้ำเชื่อม โดย มีแป้งมัน โชยุ มิริน น้ำจิ้มโซบะนั่นแหล่ะ (เรานั้นทำน้ำจิ้มนี้ไว้เสมอ มันคือ ผงชูรส ที่ดีต่อสุขภาพ) บวกน้ำตาลแดง อีกนิดหน่อยค่ะ

ทอดเสร็จแล้ว ขณะร้อนๆ ก็ชุบในน้ำเชื่อมเลยค่ะ จะกินร้อนหรือเย็นก็อร่อย



วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หมอฟัน อุดฟันที่ญี่ปุ่น

อดที่จะเอามาเขียนไม่ได้ เผื่อมีคนตกใจเหมือนเรา เรื่องคือว่า ฟันที่เคยอุดมานานแสนนานหลายปี (เมืองไทย) มันเกิดแตกแยก ออกจากกัน ดังนั้น จึงทนไม่ได้ ต้อง โทรไปคลินิค หมอฟัน (ที่ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะทำอะไร ต้องนัดหมาย เสียส่วนใหญ่ ดังนั้นคนที่คิดจะมาญี่ปุ่น แล้วภาษาญี่ปุ่น นั้นไม่ค่อยได้ หากไม่มีคนคอยช่วยเหลือ ก็ต้องคิดนะคะ)

คลินิคทำฟันที่ญี่ปุ่น คลินิค ที่ได้รับความนิยมหน่อย จะต้องคอยคิวนานค่ะ ซึ่งเราเองก็คองจะคอยคิวนั้นไม่ไหว หลังจากเขาบอกคิวเรา อย่างน้อย ก็ช่วยดูให้ฉันหน่อยเถอะค่ะ แล้วจะจัดคิวอย่างไรก็ค่อยคุยกัน จะได้ไหมค่ะ นี่คือ สิ่งที่เราต่อลองไป

และแล้ว เราก็ได้คิว คือ คิวที่คอยไปแทรก ระหว่างเวลาอันน้อยนิด ที่คนไข้คนก่อน เสร็จเร็วกว่ากำหนด แล้วคนใหม่ยังไม่มา ก็เรียกว่า รอนานเป็นชั่วโมงเหมือนกันค่ะ คลิกนิคดังกล่าวที่เราไปนั้น จะมีหมอใหญ่ คือ หมอเจ้าของเพียง ๑ คนเท่านั้น นอกนั้นก็จะเป็นหมอเด็กๆ ใหม่ๆ หลายคนค่ะ

ก่อนอื่น พอไปแล้ว

๑ . ต้องเอาบัตรประกันสุขภาพไปนะคะ ถ้าไม่มี ต้องบอกว่า แพง สุดๆ เพราะโดยทั่วไป บุคคลธรรมดา ที่ประกันสุขภาพ ก็จะเสียค่ารักษา ๓๐ เปอร์เซ็นต์ค่ะ (ส่วนบุคคลทุพพลภาพนั้น ว่าไปตามส่วน จนถึงรับการรักษาฟรีค่ะ) ประกันสุขภาพที่ญี่ปุ่น นั้น มีข้อดีหนึ่งคือ ว่า ไม่ต้องจำกัด สถานพยาบาล เหมือนบ้านเราค่ะ ใกล้ ที่ไหน สะดวก หรือ ว่า ที่ไหนว่าดี ก็ไปค่ะ

๒. กรอกข้อความ ชื่อ ที่อยู่ เป็นอะไรมา มีความต้องการอย่างไร รักษาในประกัน หรือ ว่าไม่เกี่ยงราคา อันนี้ คิดว่า แล้วแต่สถานที่นะคะ

๓. พอถึงคิว แล้ว ก็บ้วนปาก แล้ว หมอใหม่ จะดู จะเคาะ จะแงะ ตรงนี้ใช่ไหม

๔. ถ่ายเอ็กซเรย์ฟันกันเลย ถ่ายหลายแบบค่ะ แบบภาพรวม คือให้เห็นรากฟัน และก็ ด้านบนหน้าฟัน ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านล่าง ด้านบน อันนี้ ต้องบอกว่า คลินิคนี้ เครื่องใหม่ดีหน่อยค่ะ เพราะ นึกถึงภาพสมัยเมืองไทยได้ เอาแบบแผ่นเหล็กมาแทรกระหว่างฟัน เพื่อจะเอ็กซเรย์ เจ็บค่ะ

๕. เราก็กลับมาที่นั่ง ดูภาพถ่าย ภาพถ่ายฟัน นะคะ หมอน้อย ก็จะอธิบาย เรื่องเกี่ยวกับฟันของเรา ปัญหา ที่เจอ ที่เห็นได้จากการถ่ายเอ็กซเรย์

๖. หมอใหญ่ ก็มาดูเรา เพื่อสั่งการ ค่ะ วันนี้ หมอบอกเรา ว่าจะฉีดยา ชา เพื่อจะได้ไม่ต้องเจ็บ แล้วก็ทำอีกนิดเดียว ก็เสร็จ

๗. พอฉีดยาชา เสร็จ เราก็ได้รับการปล่อยตัวค่ะ มานั่งรอ ให้ยาชานั้นออกฤทธิ์ ใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที คุณหมอบอก

๘. ยาชาออกฤทธิ์ ซึ่งไม่เต็มที่ เพราะเรานั้นแข็งกว่า ยา (ล้อเล่นค่ะ ออกฤทธิ์ที่ลิ้น ที่ขอบปากมากกว่าค่ะ) พอหมอ กรอเอาของเก่าออกซึ่งมันแน่นจริงๆ เพราะจะได้ว่า หมอเดิม แบบว่า กดสุดแรงชาย เรานั้นก็เจ็บ หมอก็น่ารักดีค่ะ "น่าสงสาร ท่าจะเจ็บ อดทนหน่อยนะคะ อีกนิดเดียวค่ะ" พอเสร็จแล้วก็ให้หมอน้อย หมอใหม่ๆ มาอุดให้เรานะคะ ขณะอุดไป คุณหมอน้อย ก็พูดว่า มันอาจจะ しみれる かもう อ้าวฟังแล้ว ก็หวั่นไหว เลย แล้วทำ ทำไม ทำไม่ดี จะรั่ว จะซึม ทำ ทำไม ฟังแล้วก็คิด เพราะ ไม่อยากจะพูดอะไรเลย เนื่องจากปากนั้นเบี้ยวๆ แค่อมน้ำบ้วนปาก ยัง คอนโทรล ไม่ได้เลย เฮ้ยอะไรก็ได้ เย็นแล้วด้วย เป็นห่วง หมา เป็นห่วงเรื่องครัว มากกว่า ตอนนี้

๙. รอจ่ายเงิน ที่เคาเตอร์ก็บอกว่า วันนี้เสร็จแล้ว เอ๊ะ เมื่อกี้ หมอข้างในบอกว่า ต้องอีกหลายครั้ง ต้องทำความสะอาดฟัน ไม่นั้นจะก่อให้เกิดโรค รัมมะนาด

แต่บอกแล้ว ว่า ไม่อยากจะพูดอะไร ก็ได้แต่ตกใจข้างใน และพอวางสตังค์ ก็ออกปากดีกว่า "ครั้งต่อไปเมื่อไรค่ะ" ถามก่อนเลย เรายังไม่อยากเสร็จหรอกน่ะ ก็ได้ยินแล้วน่ะ ว่า ตรงที่อุดอาจจะมีการซึม

๑๐. หมอข้างในบอกมาว่า อย่าเพิ่งทานอะไร ภายใน ๒ ชั่วโมงนะคะ รับทราบแล้วค่ะ พอกลับมาถึงบ้าน บ้วนปาก ดูกระจก ตกใจเลยค่ะ

เฮ้ย ฟันมีสีชมพู ที่นี่เขาอุดฟันสีนี้หรือ น่าเกลียด ถึงแม้จะชอบสีชมพู แต่น่าเกลียดจัง ถามคุณแม่ ที่บ้านนี้ เธอบอกว่า เดี๋ยวสีก็ลอก อันนั้น เขาใส่ยามาน่ะ เอ้ยพูดจริงหรือ หรือจริง แบบเมืองไทยเรา หมอจะเอาแผ่นสี มาให้เรากดฟัน เพื่อดูว่า ระดับมันได้หรือเปล่า หรือแผ่นสี หว่า เมื่อกี้ เรากัดแผ่นเหมือนกัน แต่ดูแล้วไม่ใช่นี่หนา มันคืออะไร แบบนี้เดี๋ยวมันก็หลุด แล้วเมื่อกี้ที่หมอบอกเรานั้นว่า อีก๒ ชั่วโมงค่อยกิน สักจะไม่แน่ในใน ภาษา ในหู ในความรู้สึก ที่เราเข้าใจเสียแล้ว เข้าใจผิด เข้าใจถูก อย่างไร ทนไม่ไหว ต้องเช็กในเนตท์ เผื่อมีใครเป็นแบบเรา

ไม่เจอแฮะ โทรไปถามพี่ ที่นี่ดีกว่า "พี่ก็บอกว่า คิดว่า คงเป็นแบบชั่วคราว หมอที่นี่ ทำหลายที คิดว่า ต้องเปลี่ยนอีกหลายที พี่ก็ไม่เคยทำ" อ้าว รอสามีหรือ ฉันหิวข้าวน่ะ กว่า สามีจะกลับ พอดีเป็นลม แบบนี้จะกินได้ไหมนี่

ไม่รู้ แล้วไม่สนแล้ว กินข้าวดีกว่า จะเป็นลม แล้วค่อยว่ากัน แต่ก็เคี้ยวไม่เต็มที่นะคะ นี่แหล่ะ ความกังวล มีหลายเรื่อง ในญี่ปุ่น ในที่ที่เราไม่ได้มาเกิด ที่นี่ ต้องเรียนรู้ใหม่

สรุป พอสามี กลับมา ก็โดนดุ เอาแบบว่า เขาอุดชั่วคราว ไม่เข้าใจ ทำไมไม่ถามหมอ อ้าว ก็ใครจะเห็นฟันล่ะ ร้านหมอ ไม่ใช่ร้านเครื่องสำอางน่ะ ที่จะมีกระจกมาให้ส่อง

ฟันนี้ ยังคงจะอยู่กับเราเป็นเวลา เป็นเดือน เพื่อรอการ ขูดหินปูน ซึ่งจะทำได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน หกซี่ แล้ว จะใช้เวลาอีกนาน แสนนาน กับการหาหมอฟันในญี่ปุ่น (เคยขูดมาครั้งก่อน ก็ใช้เวลาทั้งสิ้น ๖ครั้ง ขูด ๔ ดูผล สรุปผล) และหลังจากนั้น ก็จะเปลี่ยนถอดฟันสี แสนสวยนี้ออก แต่ตอนนี้ ที่รั่วซึม ก็ได้รับ กาว โรยรอบฟัน มาใช้กันก่อน กาวนี้ ยานี้ ดีมากเลยนะคะ เห็นผลเลยค่ะ คุณหมอใหม่ ที่ทำหน้าที่ประจำให้กับเรา คุยเสียอีก ยังดีนะคะ ที่หมอ น่ารัก ใจดี เลยให้อภัยที่ต้องใช้เวลานานได้ ไม่นั้นเปลี่ยนคลินิคอีก

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แอปเปิลอร่อย ใน เดือนนี้

หลังจากห่างหายไปกับงานการเกษตร ตอนนี้ ก็เริ่มจะว่าง ยังคงเหลือ อีกเพียงหนึ่งวัน และ กับการท่องเที่ยวคลายเหนื่อยกับงาน



และที่เหลือ คือ การเคลียร์พื้นที่ผักสวนครัว และ สวนในบ้าน หลังจากนั้นคงได้นั่งประจำเครื่องคอม กับโต๊ะไฟฟ้า ร้อนๆ อีกหลายเดือน



เอ้า ไหนๆ ก็ทำงานการเกษตร แล้ว ก็อยากจะแนะนำ แอปเปิ้ล ที่อร่อย ในช่วงเดือนที่ผ่านมา และ เดือนนี้ เลย



ช่วงเดือน ๑๐ -๑๑ นี้ ต้องบอกว่า ที่นะงะโนะ แล้วละก็ แนะนำว่า ต้อง シナの ゴールド เลย สายพันธุ์นี้ เขาเริ่มวิเคราะห์วิจัย กันต้องแต่ไป ๑๙๘๓ และพัฒนา จนได้รับการลงทะเบียนในปี ๑๙๙๙ ดูสิพยายามกันจริงๆ



แอปเปิ้ลจะเป็นสีเหลือง เนื้อในก็สีค่อนข้างเหลืองนิดหน่อย หวานมีเปรี้ยวปนนิด กลิ่นหอมหน่อยๆ บอกได้เลยช่วงนี้ต้อง ชินะโนะ โกลเด้น นี่แหล่ะ แอปเปิ้ลนั้นมีหลายสายพันธุ์ ที่ดูจากแคตตาล๊อกที่นี่แล้วก็ ๒๐ กว่า สายพันธุ์แล้ว อะไรจะอร่อยถูกปากใครก็ต้องลองค่ะ แต่ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาของ สายพันธุ์ฟุจิ อดทนไว้สำหรับพวกที่ชอบ แอปเปิ้ล สายพันธุ์ ฟุจิ ไม่นั้น คุณจะได้รสชาด ที่อ่อน ปนฝาดนิดๆ ลองดูภาพนะคะ ถ่ายคู่กับ ฟูจิ



แขนชา มือชา สาเหตุ อาจจะ แก้ง่ายๆ โดย

หลังจากเขียนเรื่องเท้าไปแล้ว ทำให้นึกได้ต่อไปว่า ต้องเขียนเรื่องแขน
หลังจากแต่งงาน มาอยู่ญี่ปุ่น ได้สักปี (ตอนนี้ ปีที่หก) ปีที่สองเริ่มแขนชา ปีที่สามก็แขนชา โดยเฉพาะฤดูหนาว ทนไม่ไหวแล้ว เราไม่เราต้องแขนชา มือชา ไปหาหมอ หมอญี่ปุ่นนี่ดีน่ะ หาสาเหตุด้วยวิธีการต่างๆ นาๆ แคะกระดูกแขน แคะนิ้ว ข้อต่างๆ เราก็มีปฏิกริยาตอบสนองดี หามันไม่ได้เสียที สุดท้ายก็วิวัฒนาการนั่นแหล่ะ คือ การฉายเอ็กซเรย์ จะได้ไม่ต้องมาเถียงกัน เอาแบบภาพมาเลย ดูแล้ว ก็กระดูกสมบูรณ์ดี แต่ว่า ข้อต่อที่คอนี่ยาวกว่าคนที่ทั่วไป หนึ่งข้อ และแล้วก็ดูหน้า แล้ว ถามว่า มาจากไหน(ประเทศ) พอได้ความว่า เอ้ย คนไทย ร้อนๆ มาอยู่หนาว
คุณหมอ เลยได้ความคิดเลยว่า.....
ต้องความหนาวเย็นลงคอ ลงบ่า และ ทำให้ปวดชา เอางี้ หมอให้นวดเพื่อบำบัดขั้นต้น ไม่ต้องกินยา ไปนวดเลย คิดว่า คนนวดเสียอีก เป็นเครื่องนวด ไปนอนเตียงน้ำ นวดด้วยน้ำ บนเตียงอุ่นๆ แล้วก็ อีกเครื่องเลย ติดปุ่มกันให้กระหน่ำ ใส่ไฟฟ้า กันกระจุย ( กลับบ้านวันต่อมา เป็นจ้ำๆ ช้ำๆ)
แล้วบอกว่า คุณควรพันคอไว้เยอะๆ จะทำให้ดีขึ้น และแล้ว ถึงหน้าหนาวทีไร เราจะต้องมีผ้าห่มคอแยะๆ แต่เราก็ไม่ต้องกลับไปหาหมอ ให้เราเป็นจ้ำๆ ช้ำๆ อีกต่อไป) หมอนี่คิดได้ไงนี่ เรื่องง่ายๆ ที่คนไข้มองไม่ออกด้วยตัวเอง ต้องไปเสียเงินให้หมอ อย่างว่า สุภาษิตไทย ก็บอกอยู่แล้ว คนโง่ต้องเป็นเหยื่อของคนฉลาด เส้นผมบังภูเขา ก็ได้น่ะ เขียนมาจะได้ไม่ต้องเอาเงินไปให้หมอใช้ เก็บไว้ซื้อผ้าพันคอสวยๆดีกว่า

ปวดเท้า สาเหตุอาจจะ...แก้โดยวิธีนี้

อาจจะเป็นเรื่องที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าสาเหตุหนึ่งนั้นคือ การที่เท้าเย็น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในญี่ปุ่น หรือคนไทยที่สงสัยกันว่า ทำไมญี่ปุ่น จึงชอบใส่ถุงเท้า ถึงแม้จะหน้าร้อน ที่เรานั้นร้อนจนแสนจะทนได้ แต่ก็ไม่เหงื่อไหลหยดย้อย แบบคนญี่ปุ่น เพราะว่า เราไม่ใส่ถุงเท้านั้นไงล่ะ
และแล้ว เราก็ทนเจ็บปวดเท้า แสนจะร้าวราน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน เวลาที่ต้องตื่นไปเข้าห้องน้ำ อย่าบอกเลยว่า ไม่รู้จะวางเท้าลงกับพื้นอย่างไร มันปวดไม่รู้ว่าปวดที่ไหนกันแน่ แต่พอกลางวัน มันก็ค่อยๆ เลือนหายไป ทำให้เราไม่รู้ว่ามันปวดอย่างไรกันแน่ หาสาเหตุ จากเวปซ์ไทย ก็ได้คำแนะนำว่า ต้องเปลี่ยนรองเท้า เลือกให้เหมาะกับเท้า เราก็เปลี่ยน ทั้งแพงทั้งถูก เสริมด้วยแผ่นรองรับเท้า (ทั้งแพง ทั้งถูก ดีกว่าไปหาหมอน่ะ เพราะเชื่อแน่แท้ว่าเราไม่ได้เป็นโรค) เราก็ลองโน่นลองนี่ เป็นเวลาจำไม่ได้ แต่ว่า ไม่ ๒ ปี ก็ ๓ ปี ทนไม่ไหว ตื่นมาต้องพาหมาไปเดิน เอ้าติดแผ่นกันปวดก็แล้วกัน เวลาเร่งรีบ
จนปีนี้ ที่ทำงานมีคนเห็นเท้าเรา (เพราะว่าเราไม่ใส่ถุงเท้า) เขาก็ทักว่า ทำไมไม่ใส่ถุงเท้า เราก็บอกว่า มันร้อนน่ะ เราก็บอกว่า 体冷えちゃうよ。คือร่างกายมันจะเย็น (เย็นแล้วมันจะเกิดโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปวดเมื่อยมาก่อนเลย) หรือ อย่างนั้นหรือ
ลองเชื่อเขาสิ เพราะเขาเป็นคนท้องถิ่น เขาบอกว่า ที่ญี่ปุ่นนั้น มันเย็น (คิดเลยว่า จริงแน่ะ เพราะเขาบอกว่า คนที่ยืนทำงาน โดยเฉพาะที่ซุปเปอร์ พวกจนท. คิดเงิน พวกนี้ จะร่างกายไม่ดี เนื่องจากเท้าจะเย็น) พื้นดินที่ญี่ปุ่นนี่ก็จะเย็นเหมือนกัน
และแล้ว เราก็เริ่มนึกได้ ว่าที่เราปวดนี่ตอนกลางคืน แต่เราก็ใส่ถุงเท้านอนแล้วนี่ คราวนี้
ลองใส่ ๒ ชั้นเลย ใส่มันสองคู่เลย ผลคือ ว่า ปวดน้อยลง แน่นอนแล้ว เราต้อง แบบว่า เท้าเย็น (มือก็เย็น อาจจะเป็นเรื่องของเลือดลมด้วย อันนี้) แก้แบบ แก้ได้ด้วยตัวเองก่อนเลย ต่อไปนี้ สองชั้นเลย แต่ที่ได้ดี ก็ แบบถุงเท้า สวมทั้งห้านิ้ว ไว้ชั้นแรก
มันรู้สึกดีขึ้น แฮะ จึงอยากบอกต่อค่ะ
ขั้นต่อไป ลองไป 低温 サウナー คือ ซาวน่า ที่อุณหภูมิ ต่ำ คือ ปกติแล้ว ซาวน่า จะอุณหภูมิ ๙๐ องศาเซลเซียส แต่ที่บอกว่า ซาวน่า อุณหภูมิต่ำ นี้ จะ ๖๐ องศาเซลเซียส ที่นะงะโนะ ที่ใกล้กับที่นี่ นี่จะมีที่ องเซน ที่ชื่อว่า まきば湯 จะมีหินจากหิมะละยะ และก็หินจากเกาหลี
ลองเอาขาไปวางใกล้ๆ กำแพงหิน ค่อยๆ อบขา ผลปรากฏว่า เท้าซ้ายหายสนิท ตอนนนี้ จะคงเหลือก็แต่เท้าขวา ที่ยังปวดบริเวณส้น อันนี้ก็ยังดี กว่า ปวดไปทั้งเท้า เหลือเอาไว้ ให้เราคิดอีกต่อไป แต่ว่า จะรีบร้อนก็คงไม่ใช่ เพราะเราก็เอามันไว้กับเรา เสียหลายปี
จึงเขียนมาเพื่อเล่า ประสบการณ์เกี่ยวกับตัวเอง เผื่อท่านที่เป็นเหมือนเรา จะได้ลองพลิกแผลง ทำการทดลองกับตัวเอง สวัสดี.....