วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ผัดผัก ในบ้านญี่ปุ่น



ผัดผัก ในจานนี้ เป็นผักจากสวน ตัวเองล้วนๆ

มี กระหล่ำดอก , คะน้า , ถั่วลันเตา , กระเทียม

กระเทียมนั้น ก็แค่ เอากลีบมัน ไป ปักไว้ในดิน ก่อนที่หิมะจะตก คือเดือน พฤศจิกายน ตอนนี้ เดือน มิถุนายน ก็เก็บได้แล้ว ปีนี้ หัวเล็กมากๆ คิดว่า เพราะว่า ดินตรงที่ปลูกนั้นไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่

แต่ไม่เป็นไร กินได้ สะดวกใจ

คะน้า นั้นก็ ใบ และ ยอด กินไม่ได้ แมลงลง ดังนั้นต้องเลือกแต่ก้าน

ส่วนกระหล่ำดอกนั้น ก็ ปลูกไว้ ๑๐ ต้น แต่ว่า ที่กินได้ ก็เห็นจะแค่ ๕ ต้น ขนาด คลุมด้วย ไนล่อน เพื่อไม่ให้แมลงกิน แต่ ผีเสื้อ ก็เข้าจนได้ ยังดีน่ะ ที่มันยังกินเป็น ต้นๆ ไป แบ่งกันกิน

ถั่วลันเตา นั้น ปกติ ควรจะปลูกไว้ พร้อมกับ กระเทียม แต่ปีนี้ ปลูกช้าไปหน่อย ก็เลยได้กินช้า ปลูกเมื่อประมาณต้นเดือนพฤษภาคม ได้เก็บฝักอ่อน ครั้งแรกก็เดือน มิถุนายน กลางเดือน ซึ่งเริ่มมีฝนลง พอฝนลงเท่านั้น ก็ได้กินเลย อยู่แบบคนรวย แต่รวยแบบ รวยสุขภาพค่ะ

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปลา สัมมะ หวานเค็ม


สวัสดีค่ะ กับข้าว ที่กินกับข้าว ได้มาก จานนี้ อร่อย จนคนสูงอายุที่บ้าน ไม่ยอมให้ไปแบ่งให้ใคร จานนี้ มีเคล็ดลับ ที่ได้มา จากหนังสือที่ห้องสมุดอำเภอ
เครื่องปรุง
ปลา สัมมะ さんま(ราคาถูกมากๆที่ญี่ปุ่นนี่)2-3 ตัว (หากตัวใหญ่หน่อย)
A → น้ำ ประมาณ 200 ซีซี , โชยุ , มิริน , น้ำผึ้งเล็กน้อย , ขิง 2-3 แว่น , เหล้าขาว นิดหน่อย
วิธีทำ
1 ทำปลา เอาเครื่องใน ปลา ออก แล้ววางบน ตะแกรง
ราดด้วยน้ำร้อน แล้ว ตามด้วย น้ำเย็นทันที อันนี้สำคัญ ทำให้ดับคาวปลาได้ แล้วหั่นเป็น 3 ท่อน
2 ตั้งกระทะ แล้ว ใส่ A (ที่ต้องใส่น้ำเพื่อไม่ให้ โชยุไหม้) ชิมรส ออกหวานเค็ม (ไม่ต้องเข็มข้นมาก นัก เพราะว่า จะต้องเคี่ยวนาน )
3 ใส่ 1 ตอนนี้ ไฟกลาง พอเดือดแล้ว จึงไฟอ่อน เคี่ยวไปเรื่อยๆ อาจจะใช้เวลา ประมาณ 2 ชั่วโมง ชิมรสไปพลาง ควรปิดฝากระทะ เพื่อจะได้ประหยัดแก๊ส และก็สุกได้ทั่วถึง เคี่ยวไปจนกระดูกปลาอ่อน หากไม่อ่อน แต่วันนี้จะกินก่อนก็ดี(เพราะเยอะ) แล้วเหลือ พรุ่งนี้ มาอุ่นใหม่ ก็ได้ค่ะ ยิ่งนานยิ่งอร่อย