วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เป้าหมายใหม่ ปีกระต่าย 2011


พระนอน องค์นี้ อยู่ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดอยุธยา
ปีกระต่ายนี้ เลือกภาพนี้ เป็น สคส.
สำหรับในญี่ปุ่นแล้ว ทุกวันที่ ๑ มกราคม คนญี่ปุ่นจะให้ความสนใจกับการรับ ไปรษณียบัตร ที่ทำเป็น สคส. ส่งให้คนที่รู้จัก เพื่อเป็นการ ทักทายปีใหม่
และก็ลุ้น รางวัล กับ หมายเลขของไปรษณียบัตร
ทุกปี เราจะเริ่มคิดว่า ปีที่จะถึงนี้ เราควรจะตั้งเป้าหมายอะไร
อย่างปีที่ผ่านมา ก็ตั้งเป้าหมาย ไปทางภาษาญี่ปุ่น จะจำคันจิ อย่างน้อย วันละตัว
ใหม่ๆ ก็ทำดี แต่ต่อๆ ไป ก็ไม่ค่อยได้ทำ แต่ก็อ่านหนังสือ ภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น อย่างหนังสือเด็กเล็ก หนังสืออาหาร และ ก็นิยายเรื่องสั้น อย่างเรื่อง ใยแมงมุม เป็นต้น
ส่วนปีกระต่าย นี้ เราจะตั้งเป้าหมายอะไรดีน่ะ คิดๆอยู่ คิดไปดูพระท่านยิ้มไป ยิ้มด้วยกัน
อย่างน้อย ก็เกี่ยวกับสุขภาพแหล่ะ คนเรานั้น ทำงานไปเพื่ออะไร หากสุขภาพนั้นไม่แข็งแรง หาเงิน เก็บเงินไว้เพื่อ ไปหาหมอหรือ?
และคงจะต้องให้ความสนใจในภาษาญี่ปุ่นต่อไป หากเราสนใจเรียนรู้ ฝึกจำ มันก็ดี ต่อสมอง กิ่งก้านของสมอง จะได้แตกออกไป ถึงแม้จะแตกช้า หน่อยก็ไม่เป็นไร รวมทั้งจะพยายามทำความดี คิดดี และช่วยเหลือในสิ่งต่างๆ เท่าที่เราทำได้
ส่วนเรื่องเงิน และ งาน นั้น ก็ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ไม่เร่ง ไม่รีบ ไปเรื่อยๆ ช้าๆ แต่ขอให้มีรายได้เพิ่ม สุขภาพกาย และ ใจ ไม่เสียไปกับงาน
ปีนี้ ก็ขอให้เพื่อนๆ หรือใคร ที่เข้ามาอ่าน ได้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง คิดเงินให้ได้เงิน คิดทองให้ได้ทอง คิดสิ่งใดให้ได้สิ่งนั้น
"ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จิตใจที่มั่นคง อยู่ในร่างกายที่แข็งแรง"

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บุญคุณ ลูกชุบ タイのお菓子 “Look chub”

ลูกชุบ หนึ่งในบุญคุณ
เรานั้น ได้ขนมนี้ ที่ช่วยส่งเสีย ให้เรียนจบ ได้งานทำ และ สอนถึงความลำบาก ความพยายาม
ครอบครัวเรานั้น มีแม่เป็นผู้นำ ผู้นำที่ขยัน อุตสาหะ อดทน
(แม่เป็นอย่างไร ลูกก็มีส่วน เป็นไปด้วย เป็นธรรมดา เป็นสิ่งแวดล้อม ที่หล่อหลอม โดยเราเองก็ไม่รู้ตัว)

ขนมที่ทุกคนได้เห็นนี้ กว่าจะเป็นรูปร่าง แบบนี้ แสนจะเหนื่อย





เราขายมาตั้งแต่ ๕ ลูก ๑ บาท
แบกถาดขนม ไปทั่วตลาดเมืองลพบุรี หากนับเวลาไปสัก ๓๐ ปีที่แล้ว ใครๆ ที่อยู่ในอายุช่วงนั้น คงจะจำเด็กผู้หญิง ตัวดำๆ ผอมๆ ได้
ไปหลายๆ จังหวัด มีตลาดนัด ที่ไหน ไปที่นั่น
ออกต่างจังหวัด คนเดียว ได้ตั้งแต่ ป.๔ นั่งรถไป กังวลไป นั่งไม่เคยหลับ เพราะต้องตัดใบแก้ว
เสียบก้านพริก ขากลับ ก็ต้องซื้อของกลับ ตามที่แม่สั่ง นั่งหลับ คอ พับ คออ่อน เหนื่อย เพราะกลับมาต้องช่วยแม่ทำงานต่อ
ส่วนแม่ นั้นก็ ไปขายขนม ไปต่างที่กัน บางครั้ง นานๆที ก็ไปที่เดียว
วันไหน ขายดี ก็ดีใจ วันไหน ขายเหลือ ก็เหนื่อย และ เหนื่อยมากๆ เพราะว่า เหนื่อยใจด้วย


เรียนจบ เมื่อไหร่ ขอบอกเลย ว่าจะไม่เอาอาชีพนี้ บอกแม่ไว้เลย
แต่อาชีพนี้ ก็เอามาเป็นความรู้ประดับตัว ไว้ใช้ได้ หลายงาน เอามาเป็นงานเสริม
มาเป็นของฝากในต่างเมือง ได้ความภูมิใจไม่น้อย



































作ってみませんか? 

材料 70-100個用 วัตถุดิบ สำหรับ ๗๐-๑๐๐ลูก
緑豆(皮なし) 200g ถั่วซีก ๒๐๐ กรัม
砂糖      200g น้ำตาล ๒๐๐ กรัม
ココナツミルク 200g มะพร้าว (กระป๋องก็ได้) ๒๐๐ กรัม
寒天       20g วุ้น ๒๐ กรัม
着色料     สีอาหาร

お菓子(かし)(ルークシューブ) の作(つく)り方(かた) วิธีการทำ
① 緑(みどり)豆(まめ)(皮(かわ)なし)は4-6時間(じかん)ほど水(みず)にひたす。
แช่ถั่วซีก ในน้ำประมาณ4-6 ชั่วโมง
② やわらかくなるまで茹(ゆ)でる。(手(て)でつぶれるくらいまで)
ต้มจนถั่วนิ่มแหละ ลองใช้มือบี้ดู
③ フライパンに豆(まめ)、ココナツミルク、砂糖(さとう)を入(い)れ手(て)に付(つ)かなくなるまで練(ね)る
ผสมมะพร้าว น้ำตาล และถึ่ว(ข้อสอง) แล้ว ถวนถั่วในกระทะ ลองแตะดู ถ้าถั่วไม่ติดมือ จึงใช้ได้
④ 少(すこ)し冷(さ)ましてからもう一度手(いちどて)で練(ね)る。
พักถั่วให้เย็น แล้วนวดถั่ว
⑤ 形(かたち)を作(づく)り色(いろ)をつけて、楊子(ようじ)にさし、ハッポースチロールなどに立(た)てる。
ปั้นรูปและระบายสี จากนั้นก็ใช้ไม้เสียบ แล้วปักลงบนโฟมเป็นต้น
⑥ 寒天(かんてん)をつくる วิธีทำวุ้น
・ 皿(さら)に寒天(かんてん)(粉(こな))を入(い)れ水(みず)少々(しょうしょう)を入(い)れまぜる。
ละลายวุ้นผงในถ้วย โดยใส่น้ำเล็กน้อย
・ 少(すこ)し暖(あたた)めた水(みず)に入(い)れ沸騰(ふっとう)させる。
ใส่ผงวุ้นที่ละลายน้ำไว้ในหม้อต้มน้ำ และต้มให้เดือด
・ 寒天(かんてん)が固(かた)まらないように温(あたた)めながら形(かたち)にした豆(まめ)を入(い)れ乾(かわ)かす。
จุ่ม(ข้อ๕)ลงในในวุ้นที่ยังอุ่นๆ





















































แอปเปิ้ล

ตอนนี้ เดือนธันวาคมแล้ว แอปเปิ้ล ที่ยังเหลือให้เห็น ก็มีแต่พันธุ์ ฟูจิ ไว้ปีหน้า จะถ่ายรูป แต่เนิ่นๆ จะได้เห็นแอปเปิ้ล
หลายๆ สี ต่างๆ กัน รสชาด ก็แตกต่างกัน พันธุ์ฟูจิ นี้จะ เก็บได้นาน อย่างที่บ้านนี้ ก็จะมีคนให้มา ปีละ ๒ ลังใหญ่ๆ และซื้อ อีก ๒ ลัง หากเก็บในอุณหภูมิ ที่ไม่เปลี่ยนแปลง คือ ไม่ร้อน จะเก็บได้นานเป็นปี ทีเดียว แต่ว่า ที่บ้านนี้ก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ก็จะกินได้ ประมาณ ๔ เดือน
หลังจากนั้น ก็จะเป็นแอปเปิ้ล แบบรสชาด ในเมืองไทย คือ สวกๆ ลุ่ยๆ
แอปเปิ้ล ที่เก็บใหม่ๆ เนื้อจะแน่น กัดแล้ว บางทียังรู้สึกเสียวฟัน และหากเข้าช่วงหนาวๆ พันธุ์ฟูจินี้ ตรงแกนกลาง จะมีเป็นน้ำคลายน้ำเชื่อม กินไปแล้ว ให้รสชาด คล้ายสัปปะรด เห็นไหม ล่ะ เขาจึงเรียก สัปปะรด ว่า พายแอปเปิ้ล ก็คงแบบนี้แหล่ะ

ความรับผิดชอบ 責任があること

วันนี้ นึกได้ เลยอยากตัด เอาเมลล์ ที่คุยกับเพื่อนรัก ที่ถามมา มาบันทึกไว้
มันก็คือ เรื่องของความคิดของคนคนหนึ่งเท่านั้น แต่ความคิดแบบนี้คุณคิดว่าอย่างไร


*V* *O* *~*
หวัดดีน้อย เพื่อนรัก
น้อยคิดว่าปูเหงาหรือ
น้อย ปูนั้นอยู่กับความโดดเดี่ยว มาเสียนานแล้ว
ดังนั้น ปูนั้นไม่ค่อยจะรู้สึกว่าเหงาเลย
ตอนนี้ก็มีพี่เคนเป็นเพื่อน
เมื่อปู ตัดสินใจเลือก พี่เคนแล้ว
ปูเป็นคนเลือกพี่เคน น่ะ
ดังนั้น ปู ต้องทำหน้าที่ ดูแลพี่เคนให้ดี
ปูจึงไม่ค่อยมีเวลาที่จะเหงา เพราะต้องดูแล สิ่งที่ปูเลือกเขา เข้ามาในชีวิต
ตอนนี้ ปู ก็มี โชคดี ให้ต้องดูแล
และก็มี ปลาเงิน ปลาทอง ที่เลี้ยงมาแล้ว ๕ ปี ต้องดูแลทุกวัน
รวมถึง มีแม่พี่เคน ที่ถึงอย่างไร ปูก็ต้องทำหน้าที่

และ ก็ครอบครัว ที่เมืองไทย ที่ปูต้องสนับสนุนเขา

พูดแบบนี้ แล้ว น้อย พอนึกภาพออกไหมว่า
ความเหงา มัน กลายเป็นความยุ่ง มีภาระ มีหน้าที่

และ รวมถึง การดูแล ตัวเอง
และ สิ่งที่ตัวเอง อยากจะทำ ก็ยังมีอีก
ปูนั้น อยากจะมีบ้าน มีสวนหลังบ้าน
มีร้านอาหารในบ้าน
ปูอยากแสดงฝีมือ อยากทำอาหารดีๆ อาหารที่ดีต่อสุขภาพ
ให้คนที่เข้ามาในชีวิตปู ได้รับสิ่งดีๆ กลับไป

นี่คือ สิ่งที่ปู คิดในปัจจุบันน่ะ
แต่ว่า ในอนาคต คนเรานั้นเปลี่ยนกันได้

แล้วน้อยล่ะ
น้อย ความสุขกับสิ่งที่เลือกหรือ
น้อย มันเป็นความรับผิดชอบ น่ะ
หากคนเรา เลือกอะไรมาแล้ว ไม่รับผิดชอบ จะทำอย่างไรกันดีล่ะ
สังคมคงวุ่นวาย เราต้อง อบรมตัวเองก่อน อบรมความรู้สึกเรา
มันอาจจะทรมานบ้าง บางครั้ง สิ่งที่เลือกมา ไม่ได้ดังหวัง
แต่ในโลกนี้ จะมีใครสมหวัง ไปหมดก็คงไม่มี ว่าไหม
อันนี้ ก็เป็น คำพูด ที่คอยเตือน ตัวเอง ให้หาย คลาย เครียดไปได้บ้าง

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

金糸うり เส้นฝอยทอง จากผัก


ผักอันนี้ คงไม่เคยเห็นกันในเมืองไทยนะคะ ดูภาพนอกแล้วคล้ายกับ แตงไทย แต่ว่าเปลือกแข็งมาก คิดว่าเป็นผักตระกูล ฟัก แฟงค่ะ เพราะชื่อว่า อุริ
เอามาต้ม แล้วปริ จะได้เส้น คล้ายฝอยทอง แล้วทำอะไรได้คะ ดูภาพด้านล่างค่ะ

อันนี้ ปรุงรส โดยน้ำส้ม น้ำตาล และ เกลือ หรือจะใช้ น้ำส้มสำหรับ ข้าวซูชิ เลยทีเดียวก็ได้ค่ะ รสออกเปรี้ยวนำ ไว้เป็น เครื่องเคียง แก้เลี่ยน


สลัด ค่ะ เพิ่มความเผ็ดด้วย หอมใหญ่ ซอยสด คลุกเคล้ากับ ทูน่ากระป๋อง นมสด (ครีมสดก็ได้ค่ะ) มายองเนส กรอบอร่อย แช่เย็นไว้กินได้หลายครั้งค่ะ



ดองผักที่บ้าน あさづけ

อันนี้(หัวไช้ท้าว ชนิดกลม) ให้ความเผ็ดด้วย ขิงอ่อนซอย ค่ะ
อันนี้(ผักกาดขาว ชนิดอ่อน)ไม่ต้องบอกเลย พริกค่ะ เผ็ดพอ ประเล็ม ประเล็ม ปรุงรสด้วยเกลือค่ะ ทำเช้าได้กินเย็น หรือ จะกินเลยก็ได้ค่ะ กินกับข้าว หรือ จะกินเป็นเครื่องเคียง หรือ จะกินเล่น เป็นของว่าง (ของว่างของคนบ้านนอกค่ะ)

味噌煮込うどん มิโสะอุดง

อุดง หม้อนี้ สำหรับ ๓ คน ค่ะ
กว่าจะได้เป็นหม้อ แบบนี้ ดูจากภาพล่างๆ นะคะ
ตอนที่แล้ว ทำเส้น แล้ว
เราก็ต้มผัก เรียกว่า ตะลุยเลย อยากจะใส่อะไรใส่เลยค่ะ เรียกว่า ぶっこむ
ในนี้ มีผักทอง เผือก หัวไชท้าวแบบกลมๆ ผักกาดขาว โกโบ เห็ดเข็มทอง
ปรุงรสด้วย มิโสะ ซีอิ้วญี่ปุ่น ดาชิ และ ใส่ ปลาหมึกยักษ์ นิดหน่อยค่ะ
เพิ่มกลิ่นอีกนิด ด้วย หอมซอย โรยด้านบน

ที่เห็นภาพนี้ ลวกเส้นอุด้ง นิดหน่อย เพื่อเอาแป้งออกบ้าง ไม่นั้น น้ำซุปจะข้นเกินไปค่ะ เสร็จแล้ว ก็ช้อนเส้น ไปใส่ในหม้อผัก เคี่ยวสัก๑๐ นาที ลองดูหากเส้นไม่มีแป้งตรงกลาง เป็นใช้ได้ สุกกินได้แล้วค่ะ




วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทำเส้นอุด้ง นั้นง่ายมาก うどんを作りましょう

วันนี้ ใครอยากลองทำเส้นอุด้ง ก็ลองทำดูได้ ไม่ยากค่ะ

แป้งที่ใช้ คือ แป้ง โคมูกิโคะ 小麦粉หรือ แป้งสาลี ค่ะ
สะส่วนแล้ว ส่วนใหญ่จะดูได้จากหลังถุงแป้งค่ะ

ที่ใช้นี้ ก็น้ำอุ่น ประมาณ ๔๐ องศา ๑๔๐ ซีซี

แป้ง ๓๐๐ กรัม สำหรับทาน ๓ คนค่ะ

ขั้นตอน ที่เป็น หัวใจ อยู่ที่ตอนนี้ค่ะ การนวดแป้ง ยิ่งนวดมาก ยิ่งแข็ง มีความอร่อย อยู่ที่ตรงนี้ค่ะ
แต่จะทำอย่างไรหรือค่ะ ใช้มือ คงไม่พอ
ใช้เท้าช่วยเลยค่ะ ใส่ถุงพลาสติก หลายชั้นหน่อย เพื่อว่า แตกแล้วจะได้...ไม่ต้องกิน.....
โกรธใคร แค้นใคร โมโห อะไร เหยียบย่ำกันเลย สัก๑๐นาที เหนียวแข็งใช้ได้ แล้วก็พักทิ้งไว้ สักอย่างน้อย ๒๐ นาที แล้วจึงต่อขั้นตอนต่อไป ตามภาพค่ะ
สุดท้าย หากใครไม่มีอุปกรณ์อย่างภาพ อย่าเพิ่งคิดว่า ทำไม่ได้นะคะ
มือนี่แหล่ะค่ะ ปั้นให้ยาวๆ รับรองเหนียวกว่า ใช้มีดตัดเสียอีก และ ที่จะได้เป็นของแถม คือ สุขภาพแขน กล้ามเนื้อแขน คุณจะได้ออกกำลัง

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คุริ โอโควะ หรือเรียกว่า ข้าวเหนียวลูกเกาลัด



พูดถึงที่เมือง โอะบุเสะ ที่อยู่นี่ละก็ หากจะบอกว่า เป็นเมือง คุริ หรือ ลูกเกาลัด นั้นไม่มีใครเถียงค่ะ

ในเมื่อเป็นเมืองที่เลื่องชื่อ เรื่องนี้ละก็ ชาวเมืองนี้ ก็จะทำหุงข้าวเหนียว หรือข้าวเจ้า ผสมกับลูกเกาลัด แล้วทานโดยโรยเกลือ และ งา ค่ะ


ดูภาพต่อไปนะคะ เป็นขั้นตอนก่อนที่บอกลูกเกาลัด (ที่บ้านมี ๒ ต้นค่ะ เวลาออกดอกละก็หอมเอียน ชวนเวียนหัว หนามมันก็สุดยอด)

ความรู้เรื่อง พริก จากรายการทีวี ในญี่ปุ่น



ดูสิว่า กินพริกกันขนาดนี้ กินกันไหว ได้ยังไงนี่

สืบเนื่องมาจากรายการทีวี ที่ว่า พริกนั้น ช่วยให้อาหาร รสชาด อร่อย ดีขึ้น

ถามคนไทย คงไม่รู้หรอกมั้ง รู้แต่ว่า เผ็ด เผ็ด เผ็ดสุดๆ

พริกแล้ว ที่จริงนั้น เผ็ดที่ตรงไหนกันแน่

เม็ด ก็หวาน

เนื้อพริก ก็หวาน

ที่เผ็ดนั้นก็ ตรงแกนกลางนั่นแหล่ะค่ะ

ยิ่งพริก หากเอามาตากแห้ง แล้วก็ยิ่งจะเผ็ด โดยเฉพาะตรงเม็ดนี่

เพราะว่า เมื่อน้ำไม่มี เจ้าเม็ดพริกนี้ หรือ เนื้อพริก ก็จะทำการดูดน้ำ จากแกน มันก็เลยเผ็ด

เป็นไง เขาว่าอย่างนั้น ก็เชื่อไม่ได้ ต้องลองทำดูค่ะ

ดังนั้นจึงลองทำดั่งภาพที่เห็น พอดีไปเก็บพริกที่สวน เป็นพริกพันธุ์เกาหลี พริกเม็ดใหญ่หน่อย หอมดีเหมือนกันค่ะ

ผลคือว่า มันไม่เผ็ดที่ปากแล้วแหล่ะค่ะ มือสิ แทบพังเลย รายการทีวี เขาก็บอกแล้วว่า ควรสวมถุงมือ แต่เรานั้นก็ลูกรั้น คิดว่าแหม ฉันไม่ถูกแกนกลาง มันจะเป็นอย่างไร ผลคือว่า แกนกลางนั้นเชื่อม ระหว่างเนื้อพริก ก็มี ต้องระวัง แต่ก็ไม่ระวังมาก ก็เลยยังได้ความเผ็ดติดมานิดหน่อย

เรากินพริกนี้กับอะไรหรือ ดูจากภาพกันก็แล้วกันนะคะ
นาเบ้ (ต้มหม้อดิน) ใส่ผัก ตะลุย เลยค่ะ
และก็ปลา ทาระแช่เค็ม
น้ำจิ้ม ก็ โชยุ กับ น้ำส้ม และก็พริก
เหลือแต่น้ำแล้วก็ ใส่เส้นค่ะ อย่างเส้นราเมง เส้นอุด้ง หรือ โอโมจิ (ข้าวเหนียวบดอัดแท่ง)

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้าวผัดใส่ หอยอะวะบิ アワビ チャーハン

นานๆ ให้สามี กินของแพง สักหน่อย หอยอะวะบิ เนื้อนุ่ม หากเป็นหอยสด หอยในประเทศแล้ว ขายตามซุปเปอร์ ตัวหนึ่ง ราวๆ ๓๐๐ บาท แต่หอยตัวนี้ เป็นหอยแช่แข็ง ก็ตัวละ เกือบ ๒๐๐ บาทเหมือนกัน
เป็นอย่างไรข้าวกล่อง กล่องนี้ สนนราคาต้นทุน ที่ประมาณ ๒๕๐ บาท รับรองว่า หากินไม่ได้ในราคานี้แน่นอน

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เครื่องเคียงแก้เลี่ยน




ผักที่สวนทั้งนั้นค่ะ


๑. หอมใหญ่


๒. คาบุ ขนาดเล็ก


๓. มะเขือเทศ ขนาดเล็ก

วิธีทำ


๑. หั่นหอม ตามแนวยาว แล้ว ต้มสักประมาณ ๕ นาที เพื่อลดความเผ็ดของหอม


เทใส่ตระแกง เตรียมไว้ค่ะ


๒. เตรียมเครื่องปรุงรส โดยมี เกลือ เหล้ามิริน (หรือจะใช้น้ำตาลทรายแทนก็ได้) น้ำส้ม โดยชิมให้รสออกเปรี้ยวนำ


๓. นำ ๑ (ขณะที่ยังร้อนๆ) ใส่ใน ๒ และ ตามด้วย มะเขือเทศ ปอกเปลือก และ คาบุ ผ่าครึ่ง (สีของคาบุ จะละลายออก ทิ้งไว้นานๆ จะได้หอมสีแดงสวย)
เก็บไว้ใส่ใน ข้าวกล่อง แบบนี้เป็นอย่างไรค่ะ
ลองดูกันสิว่า ข้าวกล่องนี้มีอาหารกี่อย่าง
มี โนสะวะนะ ดองเค็ม , ปลาซามอล ที่ โรยด้วย เกลือ พริกไท แล้วโรยด้วยแป้งมัน เพื่อไม่ติดกระทะ เวลาทอด(ในน้ำมันแค่เคลือบกระทะ) , ผัดเนื้อ กับ บ๊อกโคลี่ และ เครื่องเคียง (ผักนั้นล้วนแต่ของที่บ้านค่ะ การเกษตรพอเพียง )




หมายเหตุ คาบุ นี้ ใช้เวลาปลูกไม่นาน เพียง ๒๐ วันก็ได้กินแล้วค่ะ จะกินสด ก็ได้






วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โซบะ ฝีมือชายที่บ้าน

ดูกินสิค่ะ ว่ากว่า จะเป็นโซบะ ที่เห็นเป็นเส้นๆ ข้างบนนี้
มีขั้นตอนการทำ แบบภาพข้างล่างค่ะ

ของที่บ้าน 家のもの どうですか。



เป็นไงค่ะ มะเขือเทศ ขนาดกลาง ในสวนที่บ้าน น่ากินมากไหม หรือว่า ฝีมือคนถ่ายรูปดีกันแน่น
อันนี้เรียกว่า แตงกวาค่ะ
ดูสิว่า แตกต่าง จากแตงกวา บ้านเราอย่างไร
สังเกต กันที่ตะเกียบ นะคะ ความยาวประมาณตะเกียบ รูปร่างเพียวบาง เหมือนเจ้าของค่ะ ว่าไป
แตงกวาญี่ปุ่นนั้น เรียวยาว เม็ดเรียงแน่น คือ อากาศเขาไม่ร้อนแบบบ้านเราดังนั้น มันก็เลยต่างกัน หากเม็ดโต ข้างใน น้ำเยอะ ก็ไม่อร่อยที่จะกินกันสดๆ
รู้สึกว่ากินแตงกวาที่ญี่ปุ่นแล้วยอมรับว่า อร่อย ก็อย่างนี้ ของปลูกเองกับมือ เก็บแล้ว กินเลย วิตามินยังไม่เสื่อมหาย อย่างนี้ จะไม่ให้สวย ก็ไม่รู้จะพูดกันอย่างไรแล้ว ว่าไหม เรียกว่า บริษัท เครื่องสำอางค์ คงต้องร้องไห้ หากมีคนแบบนี้เยอะๆ แน๊ะ



ต้นวาซาบิ

วาซาบินั้น เจริญเติบโตได้ดี ในน้ำที่ไหล ใส สะอาด ตั้งนั้นจังหวัด นางะโนะ นั้น เหมาะที่จะปลูกวาซาบิ โดยเฉพาะที่ ไร่ ไดโอ วาซาบิ 大王ワサビ ที่อำเภอ มัตโมโตะ เปิดให้ชมฟรี เพียงแต่เขาต้องการขายผลิตภัณฑ์ของวาซาบิ เท่านั้น 
ส่วนภาพล่างนั้นก็คือ เขามีที่ห้องให้เราทำอาหาร จากวาซาบิ ด้วยตัวเอง โดยจะเสียต้องค่าอุปกรณ์ คือ ค่าวาซาบิเอง เขาจะมีคนสอนให้เราด้วยค่ะ อร่อยกว่าที่เขาทำขายเสียอีก นี่แหน่ะ ชมตัวเองสักหน่อย

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ผัดผัก ในบ้านญี่ปุ่น



ผัดผัก ในจานนี้ เป็นผักจากสวน ตัวเองล้วนๆ

มี กระหล่ำดอก , คะน้า , ถั่วลันเตา , กระเทียม

กระเทียมนั้น ก็แค่ เอากลีบมัน ไป ปักไว้ในดิน ก่อนที่หิมะจะตก คือเดือน พฤศจิกายน ตอนนี้ เดือน มิถุนายน ก็เก็บได้แล้ว ปีนี้ หัวเล็กมากๆ คิดว่า เพราะว่า ดินตรงที่ปลูกนั้นไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่

แต่ไม่เป็นไร กินได้ สะดวกใจ

คะน้า นั้นก็ ใบ และ ยอด กินไม่ได้ แมลงลง ดังนั้นต้องเลือกแต่ก้าน

ส่วนกระหล่ำดอกนั้น ก็ ปลูกไว้ ๑๐ ต้น แต่ว่า ที่กินได้ ก็เห็นจะแค่ ๕ ต้น ขนาด คลุมด้วย ไนล่อน เพื่อไม่ให้แมลงกิน แต่ ผีเสื้อ ก็เข้าจนได้ ยังดีน่ะ ที่มันยังกินเป็น ต้นๆ ไป แบ่งกันกิน

ถั่วลันเตา นั้น ปกติ ควรจะปลูกไว้ พร้อมกับ กระเทียม แต่ปีนี้ ปลูกช้าไปหน่อย ก็เลยได้กินช้า ปลูกเมื่อประมาณต้นเดือนพฤษภาคม ได้เก็บฝักอ่อน ครั้งแรกก็เดือน มิถุนายน กลางเดือน ซึ่งเริ่มมีฝนลง พอฝนลงเท่านั้น ก็ได้กินเลย อยู่แบบคนรวย แต่รวยแบบ รวยสุขภาพค่ะ

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปลา สัมมะ หวานเค็ม


สวัสดีค่ะ กับข้าว ที่กินกับข้าว ได้มาก จานนี้ อร่อย จนคนสูงอายุที่บ้าน ไม่ยอมให้ไปแบ่งให้ใคร จานนี้ มีเคล็ดลับ ที่ได้มา จากหนังสือที่ห้องสมุดอำเภอ
เครื่องปรุง
ปลา สัมมะ さんま(ราคาถูกมากๆที่ญี่ปุ่นนี่)2-3 ตัว (หากตัวใหญ่หน่อย)
A → น้ำ ประมาณ 200 ซีซี , โชยุ , มิริน , น้ำผึ้งเล็กน้อย , ขิง 2-3 แว่น , เหล้าขาว นิดหน่อย
วิธีทำ
1 ทำปลา เอาเครื่องใน ปลา ออก แล้ววางบน ตะแกรง
ราดด้วยน้ำร้อน แล้ว ตามด้วย น้ำเย็นทันที อันนี้สำคัญ ทำให้ดับคาวปลาได้ แล้วหั่นเป็น 3 ท่อน
2 ตั้งกระทะ แล้ว ใส่ A (ที่ต้องใส่น้ำเพื่อไม่ให้ โชยุไหม้) ชิมรส ออกหวานเค็ม (ไม่ต้องเข็มข้นมาก นัก เพราะว่า จะต้องเคี่ยวนาน )
3 ใส่ 1 ตอนนี้ ไฟกลาง พอเดือดแล้ว จึงไฟอ่อน เคี่ยวไปเรื่อยๆ อาจจะใช้เวลา ประมาณ 2 ชั่วโมง ชิมรสไปพลาง ควรปิดฝากระทะ เพื่อจะได้ประหยัดแก๊ส และก็สุกได้ทั่วถึง เคี่ยวไปจนกระดูกปลาอ่อน หากไม่อ่อน แต่วันนี้จะกินก่อนก็ดี(เพราะเยอะ) แล้วเหลือ พรุ่งนี้ มาอุ่นใหม่ ก็ได้ค่ะ ยิ่งนานยิ่งอร่อย

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เพื่อน ผู้โชคดี


หนุ่ม ผู้ไม่เป็นชาย เสียแล้ว (ทำไมล่ะ ก็ตอนเสียแล้วไง)
อาจจะเป็นผู้โชคดี ที่เราไป รับเขามาเลี้ยง จากสำนักงานกักกันสุนัข ที่ผู้เป็นเจ้าของ ไม่สามารถเลี้ยงเขาได้ อาจจะด้วยเหตุผล แก่เฒ่า หรือ เจ็บป่วย หรือ เลี้ยงไม่ไหว เนื่องจาก สาเหตุต่างๆ
ที่ญี่ปุ่น หากจะเลี้ยงสุนัข จะต้อง ไม่ให้เขาออกไปเพล่นพล่าน นอกสถานที่ของเรา ไม่นั้น ใครเจอ เขาก็จะจับ ไปส่งที่สำนักงาน ส่วนท้องถิ่น
แล้ว เขาก็จะส่ง ไปสำนักงาน กักกันสุนัข ในจังหวัด หรือ อำเภอใหญ่ๆ ต่อไป เพื่อรอเจ้าของมารับ
หากไม่มารับ หรือไม่มีผู้มาขอไปเลี้ยง ภายใน ๓ วัน เขาก็จะจัดการ กำจัด ดู(ทีวี) แล้วสงสารมากๆ

หนุ่มน้อยตัวนี้ สามี ดูจากเวปซ์ไซด์ของจังหวัด ในส่วนกักกัน สัตว์เลี้ยง(保険所) แล้วเราก็โทร ไปเพื่อบอกความประสงค์ขอรับมาเลี้ยง
เราเลยตั้งชื่อว่า "โชคดี" เขาโชคดี แต่เรานั้น โชคร้าย หน่อย เพราะว่า เขากัด ตั้งแต่วันแรกที่ไปรับเลย "มันร้าย"
อย่างว่า เราไม่ใช่เจ้าของ เขาแท้ ๆ ต้องทนๆไป เห็นเขาบอกว่า ต้องใช้เวลาประมาณ ๒ ปี เขาจึงจะเชื่องกับ เจ้าของใหม่

โชคดี นั้น จริงแล้ว อายุ เท่าไหร่ ไม่มีใครรู้ เพราะ เขาเป็นหมา จรจัด และ จรจัด มานาน เท่าไหร่ ก็ไม่มีใครบอกได้ แต่ทางสำนักงานฯ เขาประมาณให้ว่า ๒ ปี
จริงแล้ว หากโชคดี ยังมีปลอกคอ และ มีหมายเลข แขวนไว้ เขาก็จะถูกส่งกลับไปยังเจ้าของเดิมได้ เพราะการเลี้ยงสุนัขในญี่ปุ่น นี่ต้องลงทะเบียน (เสียเงินด้วย)
และต้องฉีดยากันโรคสุนัขบ้า ทุกปี

แต่นี่ โชคดี ไม่มีปลอกคอ ติดมา ตอนเราดูในเวปซ์ เขาก็เขียนไว้ว่า เป็นมิตรที่ดีกับคน
แต่พอมาเลี้ยงจริง เขากัด กัดบ่อย ก็เลยให้พลอยคิดว่า เขาคงถูกปล่อยมาแน่ๆ เพราะนิสัยอย่างนี้
อย่างไรก็ดี ถึงร้าย แต่พวกเราก็รักเขา เขาเป็นเพื่อนเรา ทำให้วันหนึ่งๆ ของเรา มีความหมายขึ้นมาอีก หนึ่ง ความหมาย ว่าเราต้องดูแล เขา
เพราะ หากเขา ขาดเรา แล้วเขาจะต้องลำบาก อาจจะแย่ไปกว่านั้น อีก หากไม่มีใครเอาเขาไปเลี้ยงต่อ


วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทำ ซุปเต้าเจียว แบบญี่ปุ่น

มิโสะจิรุ เป็นชื่อเรียก อาหาร ถ้วยนี้

มิโสะ 味噌 คือ เต้าเจียวญี่ปุ่น

หากสนใจอยากจะทำเอง ลองดูจาก ไซด์ที่ว่านี้ก็ได้ค่ะ
แต่โดยทั่วไปแล้ว ก็ซื้อสำเร็จค่ะ
มิโสะ ซุปปุ ประกอบด้วย
เครื่องปรุง ดังนี้
๑. มิโสะ
๒. ดาชิ (ผงชูรส ญี่ปุ่น) ดูจากภาพขวามือ คือช้อนสีเหลืองเล็กค่ะ นี่คือ ดาชิ
๓. เต้าหู
๔. สาหร่าย วาคาเม
๓-๔ นี้ ใช้อะไรก็ได้ค่ะ อยากจะใส่ผักอะไร อยากจะใส่ หอยลาย กุ้งเล็ก แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช้ คือ เนื้อสัตว์ ค่ะ
วิธีทำ คือ
๑. ต้มน้ำให้เดือด
๒. ใส่ มิโสะ ลงไปประมาณพอควร ให้เค็ม (บางคนอาจจะใส่ มิโสะ ใน กระชอน เพื่อกรองเอาส่วนแข็ง ที่เป็นเม็ดๆ ออก เพื่อให้ซด ลื่นคอ ก็แล้วแต่ละคนค่ะ ไม่ต้องเอาออกก็ได้ เสียดายของ)
๓. ใส่ ดาชิ ลงไป สัก ๑ ช้อนโต
๔. ใส่เต้าหู้ สาหร่ายวาคาเม(สด) ที่บอกว่าสด เพราะว่า เขามีขาย แบบ แห้งๆ ที่เอาไปแช่น้ำก่อน ใช้งาน)
เสร็จ แล้วชิมรส ค่ะ หากเค็มไม่พอ ก็ใส่ มิโสะ ลงไปอีก (ไม่ใช้เกลือ หรือ โชยุ) หาก ไม่กลมกล่อม พอ ก็ใส่ ดาชิ เพิ่ม
ซุปเต้าเจียว นี้ คนญี่ปุ่น กินได้ทั้งวันค่ะ แต่กินมากก็ไม่ดี เพราะ เค็ม จะทำให้เป็นโรค ไต ได้เหมือนกัน ของอะไร ต้องพอประมาณค่ะ
อนึ่ง มิโสะ นี้ใช้ประกอบอาหารอื่นๆ ได้อีกมากมาย
อย่าง ราเมง รส มิโสะ
หมู ไก่ หมัก มิโสะ
ผักสดๆ จิ้มกิน กับ มิโสะ สดๆ ก็อร่อย

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

"สนามม้า"แหล่งการพนันของรัฐบาลญี่ปุ่น


競馬 (เคบะ) ม้าแข่ง เป็นอีกแหล่งหนึ่ง ที่ทำรายได้ ให้กับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งมีแข่งกันทุกวัน มีการโฆษณาทีวี สามารถ ซื้อม้าแข่งได้ ทั้งที่ทางอินเตอร์เนต โดยผ่านมือถือ หรือ เครื่องคอมฯ และการไปยังสนามแข่งม้า หรือ สถานที่ ที่มีจอ ทีวียักษ์ สำหรับ รายการแข่งม้า โดยเฉพาะ
เมื่อวันหยุด โกเดลวีค ที่ผ่านมา เราไปจังหวัดนิงะตะ ไปสนามแข่งม้า อยากรู้ว่าเป็นอย่างไร เห็นแต่ทาง ทีวี
แต่พอไปแล้ว ตกใจมาก คนเยอะมาก ลูกเด็กเล็ก คนแก่ คนหนุ่ม คนสาว เยอะแยะ มีสวนให้เด็กเล่น มีร้านอาหาร คนจำนวนหนึ่ง เอาเสื่อไปปู รองนั่ง เอาอาหารไปทาน ทำเหมือน ไปปิคนิค เลย

ซุป น้ำใส แบบ ญี่ปุ่น เราก็ ทำได้

お吸い物 (โอะสุย โมะโนะ) ซุปน้ำใส

วัตถุดิบ ที่สำคัญ คือ かつおぶし (คัสซึโอะ บุทชิ) เป็น ปลาโอแห้ง ขูดเป็นแผ่นบางๆ มากๆ

มีขาย ทั้งเป็นแบบ ถุงโต ไว้ใช้ทำน้ำซุป หรือ เป็นแบบ ซองฉีก ใช้โรยบนผักต้ม แล้ว ราดด้วยโชยุ เป็น อาหาร ง่ายๆ อีกจาน

หากไม่มีปลานี้ ก็ใช้ ปลาแห้ง บ้านเรา แช่น้ำ ให้ได้น้ำสีเหลืองๆ ออกมา ก็คิดว่า แทนกันได้ค่ะ


วิธีทำ ๑. ตั้งน้ำให้เดือดพล่าน ใส่ かつおぶし วงไป ประมาณ ๑ นาที ไม่ต้องนานค่ะ ไม่นั้นเดี๋ยวน้ำ จะออกรสเปรี้ยว

๒. ใช้ตะแกรง กรอง จะได้น้ำใสๆ (ไม่ต้องเสียดาย ไม่ต้องบีบ เอาน้ำออกให้หมด เดี๋ยวเปรี้ยว ไม่อร่อย)
๓. ใส่ผักที่ต้องการ ตามภาพนี้ ใช้ ใบ กุ๋ยฉ่าย (จากหลังบ้านนี้)
๔. ใส่เกลือ นิดหน่อย

๕. ราดด้วยไข่ ที่ตีไว้


หมายเหตุ ผักนี้ หากเป็นตามร้าน เขาจะต้ม แล้ว ราดด้วยน้ำเย็น ให้ผักมีสีสวย แล้ว เอามาใส่ ในถ้วยแต่ เล็กน้อย อย่างเช่น กวางตุ้งบ้านเรานี่แหล่ะ เอาตรงส่วนดอกสีเหลืองหน่อย ใบสีเขียวนิด ซุปก็จะมีสีสวย

หรือไม่ ก็ใส่ หอยอย่างเช่น หอยลาย สัก ๒ ตัว ลงไปด้วยก็จะดูน่ากินอีกหน่อย
ซุปนี้ จะมีรส อ่อน อาจจะไม่เหมาะกับคนไทย ที่กินอาหาร รสจัด แต่หากอยากจะ ซดน้ำ เยอะๆ ก็ดีค่ะ
สำหรับ อาหารญี่ปุ่น เมื่อเราไปกินร้านดีๆ เขาจะยกมาทีละจาน เรียงลำดับ เพื่อให้ ปากของเรา ไม่สับสน ไปกับ รสของอาหารที่ แตกต่างกัน กินรสจัด แล้วไปกินจืด กินหวาน แล้วไปเปรี้ยว มันก็ไม่ได้เรื่อง

เมื่อวันแม่ เราไปกิน อาหารกัน ที่ร้าน สุซุ ฮะนะ www.e-obuse.com/shop/index.php/suzuhana

ซุปน้ำใส นี้ ก็ถูกยกออกมา เป็น รายการที่สอง หลัง จาก กินในฤดู ที่ทำเป็นอาหาร รสอ่อนๆ ที่มีทั้ง ต้ม .ทอด ทำเป็น คำเล็กๆ กินเสร็จ ก็ซด น้ำซุป

 





อาหารมื้อเช้า


อาหารเช้า โดยทั่วไป แล้ว ต้องมี น้ำซุป ที่เรียกว่า มิโสะ จิรุ 味噌汁 เรียกเป็นภาษาไทย ให้เห็นภาพ คือ ซุปเต้าเจี๊ยว แต่ เต้าเจี๊ยวนี้ เป็นแบบ เต้าเจี๊ยว ละเอียด ที่ไม่มีน้ำ ซื้อได้ทั่วไป ในญี่ปุ่น ราคาก็แตกต่างกันไป แล้ว แต่วัตถุดิบ สถานที่ผลิต ถูกๆ เลย ก็มี ถุงหนึ่งไม่ ถึง ร้อยเยน ก็มี วัตถุดิบน้ำอาจจะมาจากเมืองจีน ซึ่งเป็นเรื่องทั่วไป ที่ญี่ปุ่น ไม่นั้น หากเป็นอะไรก็แล้วแต่ ที่แหล่งกำเนิด ในญี่ปุ่น ก็ราคาแพง
ปลาที่เห็น ในรูป คนญี่ปุ่น เรียกว่า สะเก  サケ(鮭) คือ ปลา ซามอล ที่มีเนื้อสีส้ม เอามาทำเค็มก็ได้ กินดิบ ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว หากมาทำเค็ม ก็เป็นกับข้าวเช้าที่ดีเลย "อร่อย มันๆ เค็มๆ" นึกถึง ปลาสะหวาย บ้านเราเลย
ข้าวญี่ปุ่นนั้น คนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่บอกว่า ข้าวอร่อย คือ ข้าวใหม่ ที่มี รสหวาน แต่คนไทย นั้น ต้องข้าวเก่า เพราะว่า ข้าวใหม่ มันหุงไม่ขึ้นหม้อ มันแฉะ
ข้าวญี่ปุ่น นั้น คล้ายกับ ข้าวเหนียว แต่ไม่ เหนียว ถึง ขนาด เป็นข้าวเหนียว ข้าวเหนียวเขาก็มี เม็ดตุ้นๆ เหมือน ข้าวเจ้า นี่แหล่ะ
มาญี่ปุ่นใหม่ ๆ กินข้าวญี่ปุ่น แล้ว คิดไปว่า กินข้าวเหนียว เปียก เลยกินข้าว เขาไม่ค่อยได้ อยู่ไปนานๆ ก็เริ่มชิน ไม่รู้สึกอะไร
ของอะไรก็แล้วแต่ เมื่อไม่คุ้นเคย อาจจะยังรับไม่ได้ แต่เคยๆ เสียแล้ว มันก็เฉยๆ ลองเปิดใจยอมรับ ก็ดีเหมือนกัน ได้อะไรใหม่ๆ เพิ่มมาในชีวิต ว่าไหม