วัดในโอบุเสะ

1. วัดที่ชื่นชอบ อันดับหนึ่งคือ  เกนโชจิ 玄照寺

ไหว้พระ วันละ 1 วัด ในอำเภอโอะบุเสะ วันนี้เดินไกลหน่อย ไปไหวัพระวัดนี้
แถบแถวบ้านคือ ที่อำเภอนี้ มีวัดที่มีชื่อเสียง เพราะว่า "โฮะคุไส" ที่เป็นนักวาดภาพสมัย เอโดะ ได้มาวาดภาพบนเพดาน ไว้อย่างวัดที่ชื่อ กันโชอิน
แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้ว วัดแถวนี้ ชอบวัดนี้ที่สุด เป็นวัดที่ได้รับวัฒนธรรมการสร้าง แบบเชน เดินเข้าไปแล้ว ได้ความรู้สึกที่เป็นญี่ปุ่น โบราณ แท้ๆ 3ร้อยกว่าปี แต่ยังคงความงาม
           เห็นยักษ์ไหม นุ่งเขียว กับ นุ่งแดง สังเกตุ ยักษ์หน้า วัด จะมีสองตน (ทุกวัน หากมียักษ์ยืนอยู่ ไม่ว่าที่ไหน) ตนหนึ่ง "อ้าปาก พูดว่า อะ" อีกตน "หุบปาก พูดว่า อุ" สิงห์โตหน้าศาลเจ้าก็เหมือนกันค่ะ จะหุบปากตัว อ้าปากตัว




 วัดที่ 2  ไบโชอุจิ  梅松寺 

 วัดในนิกาย  '''真言宗豊山派'''(しんごんしゅうぶざんは) เน้นการบำเพ็ญ ภาวนา
 
น่าสังเกตุว่า วัดนี้ ไม่มี "โอะฮะคะ" (สุสาน) 
 

วัดที่3  ไสเออิจิ 西永寺  

ตั้งอยู่ในถนน ในซอยย่าน แหล่งท่องเที่ยว ในเมืองโอบุเสะ อยู่ใกล้ๆ กับ พิพิธภัณฑ์ ・中島千波館 เป็นวัดในนิกาย  โจโดชิน (สุขาวดีแท้) ไม่มีพระไม่มีฆราวาส ทำให้พระในนิกายนี้มีภรรยาได้ฉันเนื้อได้ มีความเป็นอยู่คล้ายฆราวาส (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
 
 

วัดที่4 นี้ชื่อว่า เดงเคียวจิ 伝教寺
  
เดินออกไปทางเหนือ ของบ้านสักไม่น่าจะถึง 10 นาที เป็นวัดในนิกายอะไร หาจนปวดหัวแล้วไม่เจอ แบบนี้ ต้องเจอตัวพระท่านถึงจะรู้เน้อ ที่เห็นด้านหน้าๆ ของตัวอาคารโบสถ์วัดคือ สุสาน ที่เรียกว่า お墓 ที่จะตั้งสุสาน ก็ต้องซื...้อ หากไม่ได้รับมรดกตกทอดมา เรียกว่า เช่าที่ ดีกว่า จึงจะถูกต้อง เพราะว่า หากไม่จ่ายค่ารายปี ติดต่อกัน กี่ปีกี่ปี ก็แล้วแต่กฏของสถานที่นั้นๆ (นอกจากวัด แล้วก็จะมีที่เอกชน ที่เขารับจัด สุสาน) แล้วก็ซื้อตัว หิน แผ่นป้าย ก็ราคา 5แสนเยน - 2ล้านเยน (เป็นเงินไทยเท่าไร ลองเอา .3 คูณกันดู) เขาก็จะเอากระดูก ที่ คีบมาแต่ละส่วนของร่างกาย หลังจากเผาแล้ว มาใส่ไว้ในใต้ สุสาน (จะมีช่องให้ใส่)
ดูเพิ่มเติม
 
 

 

วัดที่ 5 ริวอุนจิ (龍雲寺)  

วัดนี้กว้าง น่าจะประมาณ ระดับที่3 หรือ 4 ของที่นี่ (บอกว่า กว้าง ก็คง จะเท่ากับวัดเมืองไทยขนาดเล็กๆ แค่ ครึ่งเดียว) ดูเหมือนวัด ในความรู้สึกขึ้นมาหน่อย มีสวน ที่เรียกว่า สวนในสมัย โทะคุกะวะ (สมัย เอะโด เมื่อ 134-414 ปีที่แล้ว พอๆกับสมัยอยุธยา)
 


วัดที่6  ไสโชอุจิ 西證寺 

วัดนี้ ที่น่าสนใจ คือ หอระฆัง หลังคาด้านใน สวยงาม
พูดถึง ศาสนาพุทธ ในญี่ปุ่นแล้ว คนญี่ปุ่นยังคงไม่ค่อยรู้ด้วยซ้ำไปมั้ง ไม่ค่อยสนใจเรื่องศาสนาก็เป็นว่าได้ แต่พวกที่สนใจ ก็มีไม่ใช่น้อย พวกนี้ เรียกว่า ดังคะ 檀家 คือ สาธุชน ป...ระจำวัด มีวัดประจำตัว เมื่อถึงเวลา เข้าร่วมกิจกรรมกับทางวัด ก็จะไปร่วมมือกัน
วัดส่วนใหญ่ ก็จะไม่ได้เปิดประตู (แต่วัดที่ไปเมื่อวาน เปิดประตูค้างไว้ เลยดีใจสุดๆ) ให้เราได้เห็นข้างใน นอกจากวัดที่ รับนักท่องเที่ยว วัดทั่วๆไป เราจะได้เห็นข้างใน ก็ต่อเมื่อ โอกาสพิเศษ ของทางวัด หรือ ไม่ ก็ โอกาสพิเศษของครอบครัว เช่น แต่งงาน งานญาปณกิจ
พูดว่า ไปไหว้พระ お参り โอะไมริ แล้วละก็ ส่วนใหญ่ก็แค่ข้างหน้า ยืนตรงเชิงบันใด (ซึ่งประตูวัดปิด) จริงแล้วบทสวดของ ศาสนาพุทธ ที่ญี่ปุ่น ก็ไม่เหมือนบ้านเรา เป็นบทสวดภาษาญี่ปุ่นสั้นๆ เป็นบทสวดที่พระญี่ปุ่น ที่ได้ไปร่ำเรียนมาจากเมืองจีน เอามาประยุกต์กับตัวอักษรญี่ปุ่น
แล้วอีกอย่าง วัดที่ญี่ปุ่น ก็มี 13 นิกาย แล้วก็ย่อยลงไปอีก เป็น 50 -60 ชนิด
ดูเพิ่มเติม
 


ไม่มีความคิดเห็น: